วิชา  การส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศ

การส่งกำลังทางอากาศ

กล่าวทั่วไป

ความจำเป็นในการส่งสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศ ในปัจจุบันการส่งสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศนี้ นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เพราะมีคุณลักษณะที่ดี และสามารถเข้าไปถึงภูมิประเทศทุกๆแบบได้ ซึ่งการขนส่งอย่างธรรมดาโดยทางพื้นดินไม่อาจกระทำได้ เพราะอย่างน้อยก็ถูกขัดขว้างจากการปฏิบัติการของข้าศึก ดังนั้นการส่งสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศจึงทำหน้าที่เชื่อมต่อการส่งกำลังปกติซึ่งถูกตัดขาดให้ดำเนินต่อไปได้ ซึ่งอยู่ใน

ความรับผิดชอบ
กรมพลาธิการทหารบก รับผิดชอบต่อการส่งสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศ ( ตามระเบียบว่าด้วยความรับผิดชอบในสิ่งอุปกรณ์ พ.ศ.2555 ข้อ 4 และ 4.12 ร่มและอุปกรณ์สำหรับการกระโดดร่มและส่งกำลังทางอากาศ ) ทั้งในด้าน
- การจัดส่งกำลัง
การฝึก
การปฏิบัติการ
ส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับการส่งทางอากาศทุกชนิด ทั้งในยามปกติและ
ยามสงคราม
*ความหมายของคำว่า ส่งกำลังทางอากาศ (Aerial Supply) กับ คำว่า ส่งทางอากาศ (AIRBRONE) ดังนี้
- คำว่าการส่งกำลังทางอากาศ (Aerial Supply) คือการนำสิ่งอุปกรณ์ยุทโธปกรณ์,
กำลังพล บรรทุก อากาศยาน แล้วนำไปส่ง ณ ที่หมาย
คำว่าการส่งทางอากาศ (AIRBRONE) หมายถึง เป็นการนำกำลังพลเพียงอย่างเดียว บรรทุกในอากาศยานแล้วนำไปส่ง ณ ที่หมาย หรือ ตำบลที่ต้องการ โดยวิธีบินลง หรือทิ้งลงโดยการใช้ร่ม
สาเหตุที่ทำให้เกิดการส่งกำลังทางอากาศ มีดังนี้
1. ภูมิประเทศขัดขวาง
2. ระยะทางไกลมาก
3. ข้าศึกขัดขวาง
4. ความต้องการเฉพาะ
ลักษณะพึ่งประสงค์ของการส่งกำลังทางอากาศ
1. ง่าย        คือ แผนง่าย ไม่สับสน การปฏิบัติการง่าย สถานที่ เครื่องมือเครื่องใช้เอื้ออำนวยให้ปฏิบัติง่ายต่อผู้สนับสนุนและผู้รับ
2. รวดเร็ว    หน่วยส่งทางอากาศเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว สามารถปฏิบัติการกิจ ณ บนที่หมายหรือบริเวณใกล้ๆ ที่หมายได้
3. อ่อนตัว    มีเสรีในการเลือกเส้นทาง เลือกที่ที่ใช้หน่วยเข้าปฏิบัติการโดยกว้างขวาง

    

ประวัติและวิวัฒนาการการส่งกำลังทางอากาศ
ประวัติร่ม
                  ร่มชูชีพที่เราใช้กระโดดกันอยู่ในปัจจุบันมีผู้ริเริ่ม และคิดค้นขึ้นมาแล้วเป็นเวลานานดัง
หลักฐานต่อไปนี้
ลีโอนาโด  ดาวินซี  เป็นคนแรกที่มีความคิดในการสร้างร่มชูชีพ เป็นชาวอิตาลีเป็นนักปราชญ์ที่เชี่ยวชาญทางศิลปกรรมและวิทยาศาสตร์ มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 15 ตามบันทึกของเขาเมื่อ พ.ศ.2038 ว่า
“ ถ้ามนุษย์มีผ้าลินินอาบน้ำยารูปหลังคากระโจม ขนาดกว้าง 12 บราคเชีย นำไปกระโดดลง ไม่ว่าความสูงเท่าใด จะไม่เกิดอันตรายเลย “ ข้อความที่บันทึกไว้นี้นับว่ามีส่วนถูกต้องมาก เพราะคำว่าบราคเซีย เป็นมาตราวัดความยาวในสมัยโบราณ 1 บราคเชีย ยาวประมาณหนึ่งช่วงแขนของคนธรรมดา (ประมาณ 30 นิ้ว) ดังนั้น 12 บราคเชีย จะมีค่าประมาณ 30 ฟุต ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดของร่มชูชีพที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 24 – 35 ฟุต แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เขาไม่มีโอกาสได้ทดลองทฤษฏีที่เขากล่าวไว้ เพราะยุคนั้นไม่มีอากาศยานและวัสดุที่มีขนาดดังกล่าว




พ.ศ. 2160  ฟอสเต้  เวอรันซีโอ ชาวอิตาลี ทำการกระโดดจากหอคอยในเมืองเวนิช โดยใช้ร่มซึ่งมีโครงทำด้วยไม้ บุผ้าใบ
พ.ศ. 2326  ตระกูล มองโก  ฟิเออร์  ทดลองใช้ร่มขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 ฟุต ปล่อยแกะจากหอคอยสูง พร้อมกับการทดลองปล่อยบอลลูนด้วยอากาศร้อน ผลปรากฏว่า แกะลงสู่พื้นดินด้วยความปลอดภัย
ในปีเดียวกันนี้ เซบาสตีม ชาวฝรั่งเศส ใช้ร่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14 ฟุต กระโดดจากตึกที่กำลังไฟไหม้ และปลอดภัย
พ.ศ. 2328  เจ.พี.แบรนด  ชาร์ต  ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์ร่มตามทฤษฏีของ ดาวินชี ผืนผ้าร่มทำด้วยไหม เพราะสะดวกในการพับเพื่อนำไปใช้งาน และยังได้ทดลองสร้างร่มในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นอีกหลายแบบ และได้ทดลองปล่อยสุนัขจากบอลลูนด้วยร่ม ปรากฏลงสู่พื้นด้วยความปลอดภัย
พ.ศ. 2340  แอนดรูว์  แจเคว้กาเนอร์แรง  ชาวฝรั่งเศส กระโดดร่มจากบอลลูนในระยะสูง 2,000 ฟุต นับว่าเป็นมนุษย์คนแรกที่ทำการกระโดดร่มจากบอลลูนเป็นผลสำเร็จ และทำให้เขามีความคิดเรื่องการแกว่งของร่ม จึงได้ประดิษฐ์ร่มใหม่ โดยเจาะยอดร่มให้เป็นรูเพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้ ปรากฏว่าสามารถลดความแกว่งของร่มได้
พ.ศ. 2421  คูปารเมศโต้  นับบอลลูนชาวโปแลนดำเนินได้กระโดดร่มออกจากบอลลูน ซึ่งไฟกำลังไหม้เหนือเมือง คอร์ด นับว่าเป็นมนุษย์คนแรกที่ใช้ร่มเป็นเครื่องช่วยชีวิตในยามฉุกเฉิน โดยจัดทำชุดสายรัดตัวประกอบร่ม  เพื่อให้แต่งร่มเข้ากับร่างกายได้ ซึ่งในระยะเวลาข้างต้นนักกระโดดร่มทุกคนได้กระโดดร่มโดยอยู่ในตะกร้าซึ่งแขวนไว้กับร่ม
พ.ศ. 2446  พี่น้องตระกูล ไรท์ ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องบินและทดลองบินขึ้นสำเร็จเมื่อสร้างเครื่องบินแล้วทำให้ร่มมีความจำเป็นในการช่วยชีวิตนักบินมาก จึงมีการพัฒนาร่มกันมากขึ้นและได้ดัดแปลงให้ทันสมัย มีหลายแบบตามความมุ่งหมายของการใช้ และความปลอดภัยของการกระโดดร่ม
พ.ศ. 2454  แกรนด  มอร์ตัน นักกายกรรมชาวอเมริกา ได้ทำการกระโดดร่มจากเครื่องบินเหนือเมือง เวนิช รัฐคาลิฟอร์เนีย โดยใช้มือทั้ง 2 อุ้มร่มที่พับไว้เรียบร้อยแล้วกระโดดออกจากเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินแล้วก็ปล่อยให้ร่มกางออกปรากฏว่าเขาลงสู่พื้นดินด้วยความปลอดภัย จึงนับว่าเป็นบุคคลแรกที่กระโดดร่มจากเครื่องบินสำเร็จ การกระโดดร่มแบบกระตุกเองในเวลาต่อมา ได้เลียนแบบอย่างจากท่านผู้นี้
ประวัติและความเป็นมาของหน่วยทหารพลร่ม
           การกำเนิดหน่วยส่งกำลังทางอากาศของไทยและกองทัพบก
พ.ศ. 2487  พลร่มเสรีไทยได้กระโดดร่มลงที่ จ.ว.ชัยนาท โดยเครื่องบินของอังกฤษออกจากอินเดีย เพื่อเริ่มสงครามกองโจรต่อต้านญี่ปุ่น
พ.ศ. 2493  กรมตำรวจได้ก่อตั้งหน่วยส่งทางอากาศขึ้นที่บริเวณเขาเอราวัณ จ.ว.ลพบุรีภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ซี.ซัพพลาย โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนการฝึกอาวุธพิเศษ และกระโดดร่มของกรมตำรวจ
พ.ศ. 2495  ทบ.ได้รับโอนกิจการจากกรมตำรวจมาดำเนินการต่อ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ ศูนย์การฝึกทหารร่ม “ ค่ายเอราวัณ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ กองพันนักเรียนการรบพิเศษ “ศูนย์การทหารราบ
4 มิ.ย. 97  ได้จัดตั้ง 1 กองพันพลร่ม ขึ้นที่ ค่ายป่าหวาย จ.ว.ลพบุรี ตามคำสั่ง
กระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 46/1268 ลง 4 มิ.ย. 2497 ต่อมาได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า
      “ค่ายวิชิราลงกรณ์” เมื่อปี 2513
พ.ศ. 2500  ได้จัดตั้ง “ กองร้อยพลาธิการส่งกำลงทางอากาศ “ ให้ขึ้นตรงกับ ทบ.โดยผ่าน
การบังคับบัญชาไว้กับ พธ.ทบ.
พ.ศ. 2509 ทบ. ได้จัดตั้งศูนย์สงครามพิเศษ ดังนั้น กองร้อยพลาธิการส่งกำลังทางอากาศจึงถูกโอนไปขึ้นการบังคับบัญชากับศูนย์สงครามพิเศษ และได้แก้ไขอัตราการจัดเป็น
 “กองพลาธิการส่งกำลังทางอากาศ”   

หน่วยส่งกำลังทางอากาศของต่างประเทศ
พ.ศ. 2461  ฝรั่งเศส เป็นชาติแรกที่ใช้พลร่มในสงครามโลกครั้งที่ 1
พ.ศ. 2478  รัสเซีย เป็นชาติแรกที่ใช้หน่วยพลร่มในสงครามที่ เมืองเพตซาโน ในประเทศฮอลแลนด์ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2484  เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2  เยอรมันเป็นชาติแรกที่ใช้พลร่มอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด
            กองพลร่มที่ 82 และ 101 ของสหรัฐอเมริกา ยกพลขึ้นบกที่หาด นอร์มังดี  เรียกว่า
ดี – เดย์ “และได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2493  ในสงครามเกาหลี กองร้อยพลาธิการส่งกำลังทางอากาศที่ 187  ได้ทำการส่งกำลังทางอากาศ และส่งกลับเฉพาะ 5 วันแรก จำนวน 1,500  ตัน
พ.ศ. 2534  สงครามอ่าวเปอร์เซีย สัมพันธมิตรใช้การส่งกำลังทางอากาศเป็นหลักในการส่งกำลัง เพื่อโอบล้อมแนวหลังของอิรัก โดยใช้กองทัพเรือเป็นแผนลวง

หน่วยส่งกำลังทางอากาศของ พธ.ทบ
พ.ศ. 2508  รร.พธ.พธ.ทบ. ได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง แผนกวิชาส่งกำลังทางอากาศกองวิชาพลาธิการ
พ.ศ. 2517  ทบ.ได้มอบให้ พธ.ทบ.จัดทำ โครงการผลิตร่ม และสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศ เนื่องจากร่มที่ได้รับการช่วยเหลือเมื่อปี พ.ศ.2510 เป็นร่มล้าสมัยและจะหมดอายุ และแนวโน้มที่จะได้รับการช่วยเหลือน้อยลงจนไม่ได้รับเลย สำหรับการจัดหาโดยวิธี F.M.S. ต้องใช้เวลา 2 – 3 ปี กว่าจะได้ร่ม ซึ่ง ทบ.ได้มีการพิจารณาหารือหลายครั้ง และเห็นว่าหนทางแก้ไขมี 4 ประการคือ
1.   ขอรับการสนับสนุนต่อไปอีก
2.   จัดซื้อโดยวิธี F.M.S.
3.   ดำเนินการจัดหาจากแหล่งอื่น ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม
4.   ผลิตเองหรือให้เอกชนผลิต
หลังจากพิจารณาอย่างกว้างขวางแล้ว จึงมีมติให้ พธ.ทบ.ผลิต เพราะวิธีอื่นมีอุปสรรคมาก
พ.ศ. 2518  ทบ. เริ่มสนับสนุนงบประมาณให้ พธ.ทบ.
พ.ศ. 2520  ทบ. ได้แก้ไขเพิ่มเติม อฉก.3500 พธ.ทบ. โดยเพิ่ม แผนกโรงงานผลิตร่มและสิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ  โดยให้ขึ้นตรงต่อ กองการผลิตสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ พธ.ทบ.
พ.ศ. 2522   ได้ผลิตร่มบุคคลเพื่อส่งเข้าประจำการ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะผลิตให้ได้ปีละ
300 ร่ม และ 400 ร่ม
พ.ศ. 2524  ทบ.อนุมัติให้ขยายหน่วยให้เพิ่มขึ้น  ดังนี้
-      แผนกการส่งกำลังทางอากาศ กองยุทธการและการข่าว พธ.ทบ.
-      โรงงานที่ 4  กองการผลิตสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการ พธ.ทบ.
-      หมวดคลังร่ม และสิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ กองยกกระบัตร พธ.ทบ.
-      แผนกซ่อมร่ม และสิ่งอุปกรณ์ส่งทางอากาศ กองซ่อมบำรุง พธ.ทบ.
-      แผนกวิชาส่งกำลังทางอากาศ กศ.รร.พธ.พธ.ทบ.

หน่วยต่าง ๆ ที่ พธ.ทบ.ต้องให้การสนับสนุน
๑. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
๒. ศูนย์สงครามพิเศษ
๓. กองร้อย ลว.ไกลที่ ๑, , , ๔ และ ๕
๔. กองร้อย ลว.ไกล ศสพ.
๕. กรมทหารราบที่ ๓๑ รอ.
๖. กองร้อย ลว.ไกล กองพลทหารม้าที่ ๑
๗. กองพันฝึกรบพิเศษที่ ๑ – ๔ และกองพันฝึกรบพิเศษที่ ๙
๘. ศูนย์การทหารราบ
๙. กองทัพเรือ
๑๐. กองทัพอากาศ

บทบาทการส่งกำลังทางอากาศของ ทบ.ไทย
๑. สนับสนุนการปราบปราม ผกค.
๑.๑  พ.ศ. ๒๕๐๘ – พ.ศ. ๒๕๒๗  ส่งกำลังทางอากาศให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ทภ.๓
สนับสนุนกองพิเศษ และพื้นที่ ทภ.๒ สนับสนุน ทภ.๒ ส่วนหน้า
๑.๒  พ.ศ.๒๕๑๔  ส่งกำลังทางอากาศให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย
สนับสนุนยุทธการผาลาด
๑.๓  พ.ศ. ๒๕๑๕ – พ.ศ. ๒๕๑๖  ส่งกำลังทางอากาศให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในพื้นที่รอย
ต่อ ๓ จังหวัด (พิษณุโลก, เลย และเพชรบูรณ์) สนับสนุน กฝร.๑๕
๑.๔   พ.ศ. ๒๕๑๕ – พ.ศ. ๒๕๑๗  ส่งกำลังทางอากาศให้แก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในพื้นที่รอย
ต่อ ๓  จังหวัด สนับสนุน พตท.๑๖๑๗  และในพื้นที่ อ.นครไทย สนับสนุนยุทธการสามชัย
๑.๕   พ.ศ.๒๕๒๑ – พ.ศ. ๒๕๒๗  จัดชุดส่งกำลังทางอากาศไปประจำกับ ฉก.พล.๑ รอ.เพื่อ
สนับสนุนการส่งกำลังทางอากาศให้แก่หน่วยทหารที่ปฏิบัติการใน อ.ศรีสวัสดิ์
จ.ว.กาญจนบุรี และสนับสุนน ทภ.๔
๒. สนับสนุนกลุ่มประเทศที่สาม
๒.๑ พ.ศ.๒๕๐๒ – พ.ศ. ๒๕๐๕ จัดชุดส่งกำลังทางอากาศ ไปปฏิบัติการในประเทศลาว
๒.๒ พ.ศ.๒๕๐๓ – พ.ศ. ๒๕๐๗ ส่งกำลังทางอากาศให้แก่เจ้าหน้าที่ในลาว สนับสนุนชุด
โรมีโอ   ที่ อ.ตาคลี่ จ.ว.นครสวรรค์
๒.๓  พ.ศ. ๒๕๐๖ – พ.ศ. ๒๕๑๗  ส่งกำลังทางอากาศให้แก่เจ้าหน้าที่ในลาว สนับสนุนชุด
จูเลียต ที่ จ.ว.อุดรธานี
๒.๔  พ.ศ. ๒๕๑๖ – พ.ศ.๒๕๑๘  ส่งกำลังทางอากาศให้แก่เจ้าหน้าที่เขมร สนับสนุนชุด
แสมสาร ที่ฐานบินอู่ตะเภา จ.ว.ชลบุรี
๒.๕  พ.ศ. ๒๕๒๐  -  พ.ศ. ๒๕๒๕  สนับสนุนการส่งกำลังทางอากาศให้จีนอพยพที่ บ.ผาตั้ง
จ.ว.เชียงราย

ประวัติบอลลูน
โรเจอร์ เบคอน  ชาวอังกฤษ มีความเชื่อว่าอากาศมีพื้นผิวเหมือนน้ำทะเล เขาได้คิดแบบของเครื่องที่ลอยขึ้นได้ในอากาศ
พ.ศ. 2525 พี่น้อง ตระกูล ออโกนิเยร์ ของฝรั่งเศส ประดิษฐ์บอลลูน ทำด้วยฝ้าดิบทับด้วยกระดาษเป็นรูปค่อนข้างกลม วัดโดยรอบได้ ๑,๘๐๐ เมตร ไปได้ไกลถึง ๒ ½ กม.
ชาร์ล และโรเบิร์ด  ชาวฝรั่งเศส ได้ทำบอลลูนบรรจุก๊าซไฮโดรเจนสำเร็จ มีคนขึ้นไปด้วย ลอยได้ไกลถึง ๔๐ กม.
พ.ศ. ๒๓๙๗  กรีน  ชาวอังกฤษ ได้ขึ้นไปกับบอลลูน ซึ่งอัดด้วยก๊าซถ่านหิน
พ.ศ. ๒๔๐๕  เกสเซอร์ และ คอกเวลล์ ชาวอังกฤษ  ได้ลอยไปกับบอลลูนถึง ๑๑ กม.
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑  มีการพัฒนาบอลลูนทางทหาร ดังนี้
พ.ศ. ๒๓๓๗  ฝรั่งเศส  ได้นำบอลลูนใช้ในกิจการทหารครั้งแรก
พ.ศ. ๒๔๐๔ – พ.ศ. ๒๔๐๖  สงครามกลางเมืองอเมริกาได้นำบอลลูนมาใช้ทางทหาร
พ.ศ. ๒๔๓๕  อเมริกาตั้งแผนกบอลลูนในเหล่าทหารสื่อสาร และใช้ในสงครามกับสเปนใน
ประเทศคิวบา
ต่อมาได้มีการสร้าง นาวาอากาศ ซึ่งมีแบบของเคาน์ต เชปเปลิน มีชื่อเสียงมาก เพราะเป็นแบบที่เยอรมันใช้ในการโจมตีทิ้งระเบิดกรุงลอนดอน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ และต่อมาก็ได้สิ้นสุดลง เพราะบอลลูน หรือ นาวาอากาศ มีขนาดโต และไม่ปลอดภัย เพราะเกิดไฟไหม้บ่อยและมนุษย์มาสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องบิน จึงทำให้หมดความนิยมบอลลูน หรือ นาวาอากาศอย่างสิ้นเชิง
พ.ศ. ๒๕๒๑  ไทยมีความคิดที่จะนำบอลลูนเข้ามาใช้ในกิจการทหาร โดยไปชมกิจการฝึกกระโดดร่มจากบอลลูนที่ประเทศอังกฤษ และประเทศเบลเยี่ยม
พ.ศ. ๒๕๒๓  ทบ.ได้อนุมัติให้กำลังพลเข้ารับการฝึกการใช้บอลลูนที่ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. ๒๕๒๔ พันโทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ได้เสร็จทรงกระทำพิธีเปิดการใช้บอลลูนเพื่อกระโดดร่ม ที่สนามกระโดดร่ม พัชรกิติยาภา เขาเอราวัณ จ.ว.ลพบุรี
พ.ศ. ๒๕๒๕  ศูนย์สงครามพิเศษได้ขอพระราชทานนามบอลลูนลูกแรก ชื่อ  พัชรกิติยาภา


         



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น